วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หน้าตาของโปรแกรมและการใช้งานเบื้องต้น Vegas7.0

2.หน้าตาของโปรแกรมและการใช้งานเบื้องต้น
เมื่อเราได้ทำการลงโปรแกรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาเราจะไปดูส่วนประกอบของโปรแกรมว่ามันมีอะไรกันบ้าง


รูปที่ 1 แสดงหน้าตาของโปรแกรม


ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม


รูปที่ 2 แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม

ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน
1. แถบเมนูคำสั่งต่างของโปรแกรม ก็เหมือนๆกันทั่วไป เช่น คำสั่ง edit insert view tool optionเป็นต้น ส่วนแถบข้างล่างลงมาก็จะเป็นแถบไอค่อนการใช้งานของโปรแกรม เช่น new save open และไอค่อนการใช้งานเช่น ไอค่อน automatic crossfades เป็นต้น
2. Timeline ส่วนนี้แหละที่เราจะทำการตัดต่อหนังหรืองานของเรา ซึ่งจะประกอบด้วย
2.1Audio Track ซึ่งจะเป็น Track ทำหน้าที่จัดการไฟล์ที่เป็นเสียงทั้งหมด
2.2Video Track จะเป็น Track ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับไฟล์ที่เป็นภาพ หรือ ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ต่างๆ
3. จะเป็นแถบเครื่องมือในการเล่น ไฟล์ที่เราได้ตัดต่อ โดยจะทำการแสดงผลในจอพรีวิวร์ ก็จะประกอบไปด้วยคำสั่ง อัดเสียง เล่นวน เริ่มเล่นตั่งแต่แรก เล่น หยุด ฯลฯ เป็นต้น
4. ส่วนนี้เรียกว่าหน้าต่างงานก็จะประกอบไปด้วยแถบเครื่องมือต่าง ๆ ที่สำคัญคือ
4.1แถบ Explorer คือ แถบที่ทำหน้าที่ค้นหาไฟล์ที่จะนำเข้าสู่ Time line โดยการลากแล้ววางลงไปใน Timeline
4.2แถบ Project Media จะทำหน้าที่รวบรวมไฟล์ต่างๆที่เข้าสู่ Time line โดยจะรวมไว้อยู่ในนี้ และสามารถ import ไฟล์ต่างๆ เข้ามาใน Preject Media ได้ และสามารถลากไปวางบน Timeline ได้อีกด้วย
4.3แถบ Transition แถบนี้ก็คือ Effect การเข้าออก จากคลิปหนึ่งไปสู่อีกคลิปหนึ่ง ซึ่งจะมีให้เลือกมากมาย รวมถึง Plugin บางตัวก็อยู่ใน Transition นี้ เช่น Adorage Magic,ball Transition เป็นต้น
4.4แถบ Video FX แถบนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆกับ ฟิลเตอร์ของโฟโต้ชอป คือการใส่ Effect ให้กับ คลิปงานของเรา โดยการลาก ไปวางที่คลิปได้เลย ซึ่งจะมีให้เลือกมากมายและบางตัวก็เป็น plugin จากโปรแกรมอื่นๆเช่น spicemaster motion blue effect เป็นต้น
4.5แถบ Media Generators แถบนี้จะเป็นการสร้างมีเดียขี้นเช่น ตัวหนังสือ แบ๊กกราว เครดิตโรล
5. จะเป็นของจอมอนิเตอร์แสดงการทำงานของงานที่เราได้ทำการตัดต่อ อนการเร็นเดอร์ออกเป็นไฟล์ media ต่างๆ

การใช้งานเบื้องต้น
ก่อนเริ่มต้นตัดต่อเราควรรู้จัก คีย์ลัดที่ใช้บ่อยๆกันในคีย์บอร์ด
· ปุ่ม Space bar ใช้สำหรับ Play/ Stop หรือการเล่นการหยุด งานในtimeline
· ปุ่ม S สำหรับตัด clipให้เป็นท่อนๆ
· ปุ่ม M สำหรับ การมาร์คจุด
· Ctrl+c,Ctrl+v ,Ctrl+x การก๊อปปี้ การวาง หรือการย้าย เหมือนกับ วินโดว์เลยครับ ตัวเลือนตรงกลางของเมาส์ สำหรับยึด หด คลิป การนำงานเข้าสู่ Timeline ก็คือ คลิ๊กลากแล้ววาง หรือ คลิ๊กเมนูFile-->Import media หน้าต่างที่จะแนะนำต่อไปนี้คือหน้าต่าง Exploror มีความสำคัญคือทำหน้าที่ ค้นหา และสามารถนำเข้าสู่ Timeline ได้โดยลากแล้ววาง


รูปที่ 3 แสดงปุ่มคำสั่งพื้นฐาน

3.การใช้งาน Transition VideoFx และ Media Generators
4.การจัดการด้านเสียง
5.การเรนเดอร์งาน
ที่มา ...
http://www.koogun.net/media/vegas/
http://www.thelittlekpy.com/for_donwload/How2UseVegas.pdf
http://www.adisonc.th.gs/web-a/disonc/aticle.htm

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลิติมิเดีย

การศึกษากับสื่อมัลติมิเดีย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาวะเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะ จึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
1. เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
2. ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
3. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
5. ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
7. คอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับ
ข้อมูลรูปแบบการสอนเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การ ตรวจสอบ ความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
8. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู
ความจำความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และโครงสร้างของเนื้อหา
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้กับทุกสาขาอาชีพ
2. ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อ
ต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงการสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่ตรวจสอบความรู้ ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือการผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลักโดยเฉพาะและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่าเว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมี ความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล่วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต